วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

เรียนกีต้าร์ขั้นพื้นฐาน Fingerstyle Beginner by (We Love Fingerstyle)



** เปิดรับสมัครเรียนกีต้าร์ขั้นพื้นฐาน Fingerstyle Beginner by (We Love Fingerstyle) **
เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหัดเล่นกีต้าร์หรือผู้ที่ต้องการเรียนรู้ Basic Guitar เพิ่มเติมทั้งทฤษฎีดนตรีและการปฏิบัติ

หลักสูตรประกอบไปด้วย 5 บท 28 หัวข้อย่อย ทั้งทฤษฎีดนตรีและการปฏิบัติ รายละเอียด >>> https://goo.gl/n3SnhQ
(Facebook Group + Video + Document + Homework + Free 5 Song TAB! )
*** ค่าใช้จ่ายคอร์สเรียน 1,500 ฿ พร้อม TAB Free 5 Song ***
สนใจ inbox https://goo.gl/vUwCik หรือ line: kawin678 หรือโทร. 081-9626008
การเรียนการสอนเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมดครับ เรียนตอนไหนก็ได้ครับแล้วแต่ความสะดวกและเวลาว่างของแต่ละท่าน คลิปการสอนดูได้ตลอดเวลาครับในกลุ่ม  ผู้เรียนสามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้สอนได้โดยตรงภายในกลุ่มเฟสบุ๊ค(กลุ่มปิด)
ซึ่งเมื่อท่านได้ลงทะเบียนชำระค่าเรียนแล้วผมจะดึงท่านเข้ากลุ่ม Fingerstyle Beginner Class1 พูดคุย ปรึกษาหารือ และส่งการบ้าน ในกลุ่มทั้งหมดครับ

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ข้อแตกต่างกีตาร์โปร่งไม้ Solid และไม้ Laminate


            เคยสงสัยไหมครับเวลาเลือกซื้อกีต้าร์แต่ละตัวก็จะมีชนิดหรือลักษณะขอไม้ที่นำมาผลิตกีต้าร์แตกต่างกันออกไป  เรามักจะพบกับคำเหล่านี้ Top Solid / Laminate / ไม้อัด  อาจจะได้ยินจากพนักงานขาย เพื่อน พี่น้อง หรือคนอื่นๆ ที่แนะนำเรา  บทความนี้จะอธิบาย ความแตกต่าง ข้อดีข้อเสีย ของไม้ Solid / Laminate ให้ผู้เล่นกีต้าร์มือใหม่หรือคนที่ยังไม่เข้าใจได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น..

กีตาร์โปร่งไม้ Solid และไม้ Laminate

โดยความจริงแล้ว ไม้ Solid และไม้ Laminate นั้นเป็นไม้แท้เหมือนกัน  ไม้ Laminate ที่ใช้ทำกีต้าร์นั้นไม่ใช่ไม้อัดที่ใช้ทำฟอนิเจอร์ คนละแบบต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งบางคนอาจเข้าใจผิดมาโดยตลอดดังนั้นกีต้าร์ที่ทำจาก ไม้ Solid หรือ ไม้ Laminate  จะเป็นไม้แท้เหมือนกันเพียงแต่แตกต่างกันที่การได้มาของไม้และกรรมวิธีการผลิต

ลักษณะของไม้ Solid และไม้ Laminate ในกีต้าร์

1. Laminate  คือ ไม้แท้ที่มีวิธีการทำให้เป็นแผ่นบางๆ มากกว่า 1 แผ่นขึ้นไป แล้วนำมะประกบซ้อนกันโดยนำมาทำเป็น ไม้หน้า ไม้ข้าง และไม้หลัง ตามต้องการ  
2. Solid  คือ  ไม้แท้เพียงแผ่นเดียว โดยการนำตอท่อนมาผ่า ตามแบบหรือขนาดที่ผู้ผลิตต้องการเพื่อนำมาใช้ทำไม้หน้า ไม้ข้าง และ ไม้หลัง

คุณภาพของเสียงที่ได้ จากไม้ Solid และไม้ Laminate

1. ไม้แท้  Solid จะให้เสียงตามลักษณะของประเภทของไม้แต่ละชนิดได้เต็มศักยภาพ กีต้าร์ Solid ส่วนใหญ่แล้วจะมีทั้ง Top Solid / Top&Back Solid / All Solid  และจะมีการพัฒนาคุณภาพของเสียงขึ้นไปอีกตามปัจจัยต่าง เช่น เวลา ความแห้งของเนื้อไม้  จึงมีคำกล่าวที่ว่า " ไม้ Solid ยิ่งเล่นไปนานๆยิ่งเสียงดี "   นั้นเอง ** ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างของกีต้าร์แต่ละตัวด้วย

2. ไม้  Laminate คือการนำไม้มาวางทับซ้อนกันทำให้เกิดความแข็งแรง เพราะฉะนั้นเสียงที่ได้จะไม่เต็มศักยภาพของไม้ชนิดนั้นๆ มีการสั่นของไม้ที่เกิดจากการดีดสายกีต้าร์ น้อยกว่าไม้ Solid อยู่มากเสียงที่ได้จะไม่โดดเด่น ความชัดเจนของโน้ตมีไม่มากเท่าไม้ Solid ถึงจะมีข้อด้วยเรื่องเสียงแต่ไม้ Laminate ก็ยังมีข้อดีอื่นๆด้วยเช่นกัน

ข้อดีและข้อเสียของไม้ Solid และไม้ Laminate



Solid  
ข้อดีคือ - ให้เสียงสว่างกังวาล โน้ตคมชัด นุ่มนวล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ด้วย
             -  การตอบสนองต่อการเล่นที่ดีมีการสั่นสะเทือนของไม้สูงทำให้ย่านเสียงต่างๆคมชัดและกังวาล
             -  มีการพัฒนาของเสียงเมื่อผ่านการเล่นไปซักระยะหนึ่ง
ข้อเสีย  - ไม้จะมีความไวต่อสภาพอากาศมาก ทนต่อสภาพอากาศไม่ดีนักหากชื้นหรือร้อนเกินไป อาจทำให้เกิดการเสียหายได้เช่น ไม้บวม ร้าวแตก คดงอ
             - ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับไม้ Laminate



Laminate
ข้อดีคือ - ไม้มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศสูง
             -  ราคาถูก ประหยัด เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น หรือ ผู้ที่มีงบประมาณน้อย
             -  ถ้าติดภาคขยาย(โปร่งไฟฟ้า)เวลาเล่นออกแอมป์จะไม่ค่อยเกิด Feedback (เสียงสะท้อน)
ข้อเสีย  -  เนื่องด้วยความแข็งของไม้ทีมีมากเกินไปจึงทำให้สียงที่ออกมาไม่ค่อยดีนัก
             -  เมื่อเล่นไปซักระยะเวลาหนึ่งเสียงจะคงเดิมไม่เปลี่ยนไปมากนัก (เสียงจะไม่ดีขึ้นมากนัก)


สรุป  

       มีทั้งข้อดีและข้อเสียของ  Solid และ Laminate ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้คุณภาพของเสียงดี เช่น กีต้าร์ไม้ Laminate บางตัวเสียงอาจจะกังวาลใสเหมือนไม้ Solid ก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับไม้ชั้นกลางและกระบวนการขั้นตอนการผลิต หรือ ไม้ Laminate บางตัวเสียงอาจจะทึบ ไม่กังวาล ก็เป็นได้อีกเช่นกัน  ทั้งนี้การเลือกซื้อระหว่าง กีต้าร์ Solid และ Laminate ก็ขึ้นอยู่กับความชอบและงบประมาณของแต่ละบุคคลด้วย

เขียน/เรียบเรียงโดย We Love Fingerstyle 
สงวนสิทธิ์เนื้อหาบนเวบไซด์
( http://welovefingerstyle.blogspot.com )
Facebook Page : https://www.facebook.com/pages/Happyhome-Uke/215176761899715

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

We Love Fingerstyle

 
การเล่นกีตาร์แบบ Fingerstyle เบื้องต้น
 
 
Fingerstyle Guitar 
 
     การเล่นกีต้าร์ แนว Fingerstyle นั้น เป็นการเล่นกีตาร์สไตล์หนึ่งที่มีความไพเราะ เป็นความฝันของผู้เล่นกีต้าร์โปร่งหลายๆท่าน  ที่อยากจะเล่นกีต้าร์ในสไตล์นี้   การเล่นแบบ Fingerstyle คือ  การเล่นกีต้าร์โดยใช้การเกา(picking) เป็นหลัก คือการดีดสลับ หรือ ไล่ดีดโน้ตที่ละตัว ทีละนิ้ว(p นิ้วโป้) (i นิ้วชี้) (m นิ้วกลาง) (a นิ้วนาง) เป็นต้น โดยเรื่องจากการดีด warm up เพื่อให้นิ้วของเรานั้นคุ้นเคยกับสายแต่ละสายก่อนครับ ซึ่งสามารถ Download แบบฝึกหัดได้ที่นี่ครับ (คลิ๊กDownload)
 
     กีต้าร์แนวฟิงเกอร์สไตล์นั้น ผู้เล่นสามารถออกแบบวิธีการเล่นด้วยตนเองได้ครับถ้าได้เรียนรู้ทฤษฏีดนตรี และปฏิบัติ ได้จนชำนาญแล้ว   ซึ่งแต่ละผู้ประพันธ์ จะเรียบเรียงได้ไม่เหมือนกันแล้วแต่ความชอบ หรือรสนิยม ของแต่ละผู้ประพันธ์ครับ สามารถเล่นได้กับเพลงทุกรูปแบบทั้ง folk , blues , jazz , soul หรือเพลงแบบ ragtime  ฯลฯ
 
 
 บทเรียนและแบบฝึกหัด Guitar Fingerstyle
 
 
 
การหา Key signature
 
     เริ่มแรกต้องรู้เรื่องของสเกลก่อนนะครับ   พอเข้าใจเรื่องสเกลแล้วให้เราลองฟังสเกลในเพลงนั้นๆครับว่าเป็นโน้ตอะไรบ้างให้ดูที่นิ้วที่เรากดตาม ถ้าเพลงนั้นเราแกะเป็นโน้ตเบส หรือ คอร์ด ก็ได้ครับ ให้เขียนโน้ตที่เราแกะได้ลงบนกระดาษค่อยๆ ทำทีละท่อน (ส่วนถ้าเพลงนั้นเรามีคอร์ดอยู่แล้วให้จับคอร์ดท่อนร้องท่อนแรกแล้วเขียนในกระดาษเรียงไปเรื่อยๆ นะครับ)

*** ยกตัวอย่างคีย์ C ครับ
จะเรียงคอร์ดที่อยู่ในคีย์ C major ( คือสร้างจาก C major scale ) จะได้ C D E F G A B
 
*** ต่อไปเรื่ององค์ประกอบของคอร์ด หรือ โน้ตที่ประกอบกับเป็นคอร์ด ตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไปครับ
(ในกรณีนี้ผมจะยกตัวอย่างเป็นคอร์ด Major ธรรมดาครับ)เช่น  คอร์ด C   มีโน้ต C E G  นั่นคือโน้ตตัวที่ 1 3 และ 5 ตามลำดับของโน้ตในสเกล C major ( เพื่อนๆลองเขียนคอร์ด อื่นๆดูได้ครับ แล้วแยกโน้ตในคอร์ดออกมาเองก็ได้ครับ )
 
*** ปล.ในคอร์ดอื่น โน้ต อาจจะมีติดเครื่องหมายแปลงเสียง # (ชาร์ป)   b (แฟรต) ก็ได้ครับ ตามลำดับโน้ตในสเกลนั้นๆ
 
****  ต่อจาก ตัวอย่างคีย์ C ครับ
เมื่อเราเขียนครบ 7 คอร์ด ตามจำนวนโน้ตในสเกลจะได้เป็น C Dm Em F G Am Bdim ถ้าใช้โครงสร้างเมเจอร์สเกล จะได้ลำดับแบบนี้ครับคอร์ดที่ 1,4,5 เป็น Major คอร์ดที่ 2,3,6 เป็น minor  ส่วนคอร์ดที่ 7 เป็น Dim (ดิมมินิช)
 
**** อธิบายต่อจากที่บอกให้ดูสเกลในตอนแรก(ผมจะบอกว่าโน้ตอะไรมีในคอร์ดอะไรบ้างครับ)
-โน้ต C มีในคอร์ด  C,F,Am
-โน้ต D มีในคอร์ด  Dm,G,Bdim
-โน้ต E มีในคอร์ด   C,Em,Am
-โน้ต F มีในคอร์ด   Dm,F,Bdim
-โน้ต G มีในคอร์ด  C,Em,G
-โน้ต A มีในคอร์ด  Dm,F,Am
-โน้ต B มีในคอร์ด  Em,G,Bdim
ปล. คอร์ดดังกล่าวสามารถอยู่ใน คีย์ อื่นๆได้เช่นกันครับ  (ลำดับต่อไปผมจะเขียนคอร์ดในคีย์เมเจอร์ตามไดอะโทนิค ที่เหลืออีก 6 คีย์ครับ)
Key D  ประกอบด้วยคอร์ด  D Em F#m G A Bm C#dim
Key E  ประกอบด้วยคอร์ด   E F#m G#m A B C#m D#dim
Key F  ประกอบด้วยคอร์ด   F Gm Am Bb C Dm Edim
Key G  ประกอบด้วยคอร์ด  G Am Bm C D Em F#dim
Key A  ประกอบด้วยคอร์ด  A Bm C#m D E F#m G#dim
Key B  ประกอบด้วยคอร์ด  B C#m D#m E F# G#m A#dim
ปล. อยากให้ลองสังเกตคอร์ดของคีย์ C ใน คีย์อื่นๆ ครับ

           ยกตัวอย่างถ้าเพลงเริ่มด้วยคอร์ด D แต่เป็น G เมเจอร์สเกล เราเล่นคีย์ G อยู่ครับ คอร์ดDเป็นคอร์ดที่ 5 ไม่ใช่ 1 แต่แค่วางตอนเริ่มเพลงเท่านั้นถ้าให้เข้าใจง่ายๆ คือเราแต่งคีย์อะไรก็แล้วแต่ เอาคอร์ดไหนขึ้นหรือจบ ได้ทั้งนั้นครับ อยู่ที่ฟังแล้วมันจะเป็น Fill แบบไหนเท่านั้นเอง
ถ้าเพื่อนๆฟังสเกลไม่ออก แกะมาทีละตัวเลยครับ ตั้งสายให้ตรงก่อน   กดโน้ตเจอแล้วก้มดู
เป็นโน้ตตัวอะไรจดไว้ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที (C D E F G A B)โดนชาร์ปโดนแฟลตจดออกมาก่อนครับ แล้วลบตัวที่เขียนไว้ซ้ำกันออก   จากนั้นท่านจะเรียงยังไงก็ได้ครับให้ออกมาเป็นตามโครงสร้างของเมเจอร์สเกล
1       2       3         4         5        6           7                   (8หรือ1)
I       ii       iii       IV       V       vi          vii(dim)
โน้ตที่เรียงไปเรียงมาจนเมื่อได้ตามโครงที่ว่า แล้วมาตกเป็นตัวที่หนึ่งในที่สุดนี่ละครับที่เป็นชื่อ "คีย์"